หนังสือธรรมะ ของดีมีประโยชน์ บุญกุศลแรง

หนังสือธรรมะ ของดีมีประโยชน์ บุญกุศลแรง



      สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาของชำร่วยงานศพ  ทางร้านขอแนะนำของชำร่วยงานศพที่เป็นหนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะค่ะ



   สำหรับหนังสือธรรมะนี้ ทางร้านมีหนังสือให้เลือกมากมายหลากหลายแบบไม่ว่าจะเป็น 

1.หนังสือปรัชญาในการดำเนินชีวิต

2.หนังสือสมุนไพรและบทสวดมนต์
3.หนังสือกฎแห่งกรรม
4.หนังสือบทสวดมนต์

ลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือธรรมะเพื่อแจก ไม่ว่าจะเป็นโอกาสใดๆ หรือ แม้จะนำมาเป็น ของชำร่วยแจกงานศพ ลูกค้าสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งจองได้ค่ะ หนังสือธรรมะ เพื่อให้เหมาะสมแก่การแจก ลูกค้าสามารถสั่งจองล่วงหน้าได้ที่


สนใจสอบถามได้ที่ โทร.092-746-1604, 092-746-1350
www.kapooktham.com
E-mail : kapooktham@gmail.com

Line ID : kapooktham 

รักษาใจยามป่วยไข้

รักษาใจยามป่วยไข้

                                                                                                        พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

เราทั้งหลายที่เป็นพุทธศาสนิกชนนั้น นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่เคารพบูชาสูงสุด พระรัตนตรัยนั้น ก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ถ้ายึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลักพระพุทธเจ้าก็เป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้ค้นพบพระธรรม เมื่อค้นพบแล้วรู้ความจริงก็นำเอาธรรมนั้นมาสั่งสอนแก่ผู้อื่น ผู้ที่ปฏิบัติตามรวมกันเข้าก็เรียกว่าเป็นสงฆ์
พระพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบพระธรรมนั้นก็คือ ค้นพบความจริงเกี่ยวกับเรื่องโลกและชีวิตว่าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้านั้นทรงสนพระทัย เรื่องความสุข ความทุกข์ของมนุษย์ และพระองค์ก็ใช้เวลามากมายในการค้นคว้าเรื่องนี้ เพื่อให้รู้ชัดว่า มนุษย์นั้นมีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ถ้ามีปัญหาคือ ความทุกข์เกิดขึ้น จะแก้ไขอย่างไร เรียกได้ว่า พระองค์เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องชีวิต เพราะฉะนั้นพระองค์จึงสามารถในการที่จะแก้ปัญหาชีวิตของคนเรา และเราก็นับถือพระองค์ในแง่นี้เป็นสำคัญ ชีวิตของคนเรานั้นประกอบด้วย กาย กับ ใจ มีสองส่วนเท่านั้น กายกับใจรวมเข้าเป็นชีวิตของเรา กายก็ตาม ใจก็ตาม จะต้องให้อยู่ในสภาพที่ดี ต้องรักษาไว้ให้มีสุขภาพดี จึงจะมีความสุข ชีวิตจึงจะดำเนินไปโดยราบรื่น 
แต่คนเรานั้น จะให้เป็นไปตามที่ปรารถนาทุกอย่างก็เป็นไปไม่ได้ ร่างกายของเรานี้บางครั้งก็มีความเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะสาเหตุเนื่องจากการกระทบด้วยโรคภัยที่มาจากภายนอก หรือฤดูกาลผันแปรไป หรือถูกกระทบกระทั่งจากวัตถุสิ่งของที่แข็งกระด้าง แม้แต่หนามตำทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น หรือว่าร่างกายนั้นอยู่ไปนานๆ เข้าก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ร่างกายก็เจ็บไข้ได้ป่วยอันเป็นไปตาม
ธรรมดา เรียกว่าเป็นลักษณะของสังขาร คือ สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง แต่อาศัยสิ่งหลายๆ อย่างมาประชุมกันเข้า มารวมตัวกันเข้า
ร่างกายของเรานี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างมาประกอบกันเข้า ภาษาเก่าๆ เราเรียกว่า เกิดจากธาตุดิน นํ้า ลม ไฟ มาประชุมกัน ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต่างก็ผันแปรไป เมื่อแต่ละอย่างผันแปรไป ก็เป็นธรรมดาที่ว่าจะเกิดการแปรปรวนขึ้นแก่ร่างกายที่เป็นของส่วนรวมนั้น ซึ่งเป็นที่ประชุมของธาตุทั้งหมดร่างกายแปรปรวนไปก็เกิดการป่วยไข้ไม่สบาย นี้ก็เป็นด้านหนึ่ง
ทีนี้ ร่างกายนั้นก็ไม่ได้อยู่ลำพัง ต้องอยู่ร่วมกันกับจิตใจ จึงจะเกิดเป็นชีวิต จิตใจนั้นก็เช่นเดียวกัน ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ จิตใจเปลี่ยนแปลงไป มีความคิดนึกต่างๆ นานา บางครั้งเกิดกิเลสขึ้นมา
เช่น มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ใจก็แปรปรวนไปตามกิเลสเหล่านั้น ยามโลภ ก็อยากจะได้โน่นได้นี่ ยามมีโทสะเกิดขึ้น ก็โกรธแค้นขุ่นเคืองใจ หงุดหงิด กระทบกระทั่งต่างๆ ยามโมหะเกิดขึ้น ก็มีความลุ่มหลง มีความมัวเมาด้วยประการต่างๆ 
ในทางตรงข้าม เวลาเกิดกุศลธรรม เกิดความดีงาม จิตใจเป็นบุญขึ้นมา ก็คิดนึกเรื่องดีๆ จิตใจก็งดงาม จิตใจก็ผ่องใส เบิกบาน สดชื่น เรียกว่ามีความสุข ในเวลานั้นก็จะมีคุณธรรม เช่น มีความ
เมตตา มีความกรุณาต่อคนอื่นๆ หรือมีศรัทธา เช่น มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ศรัทธาในพระศาสนา ศรัทธาในบุญในกุศลเป็นต้น จิตใจก็เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปได้ต่างๆ
แต่ที่สัมพันธ์กันระหว่างกายกับใจก็คือว่า เมื่อกายเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มักจะรบกวนทำให้จิตใจพลอยไม่สบายไปด้วย เพราะว่าร่างกาย เจ็บปวด จิตใจก็มีความทุกข์ หรือว่าร่างกายนั้นไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เช่น ร่างกายที่อ่อนแอ เป็นต้น จิตใจก็หงุดหงิด เพราะไม่ได้อย่างใจ อันนี้เรียกว่าจิตใจกับร่างกายนั้นอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อร่างกายไม่สบาย จิตใจก็พลอยไม่สบายไปด้วย
อีกด้านหนึ่ง เมื่อจิตใจไม่สบายมีความทุกข์ มีความหวาดระแวง มีความกลัว มีความกังวลใจ มีห่วงหน้าพะวงหลังต่างๆ มีความไม่สมปรารถนา ผิดหวังท้อแท้ใจต่างๆ ก็ทำให้แสดงออกมาทางร่างกาย เช่น หน้าตาไม่สดชื่น ผิวพรรณไม่ผ่องใส ยิ้มไม่ออก ตลอดจนกระทั่งว่า เบื่อหน่ายอาหารเป็นต้น ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีกำลัง เพราะว่าใจไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีกำลังใจแล้ว ร่างกายก็พลอยไม่มีกำลัง อ่อนแรง อ่อนกำลังไปด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องของกายกับใจที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
ในบางคราวนั้น ร่างกายก็เจ็บปวด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ว่า เวลานั้นความเจ็บปวดของร่างกายอาจจะทำให้จิตใจนี้พลอยไม่สบาย ไปด้วย ซึ่งทางภาษาพระท่านบอกว่า ถ้ากายไม่สบาย เจ็บไข้แล้ว จิตใจไม่สบายไปด้วย ก็เรียกว่ากายป่วย ทำให้ใจป่วยไปด้วย
จะทำอย่างไรเมื่อร่างกายเจ็บป่วยแล้วจิตใจจะไม่แปรปรวนไปตาม พระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงค้นคว้าเรื่องของชีวิตไว้มากมาย แล้วหาทางที่จะช่วยให้คนทั้งหลายมีความสุข พระองค์เคยพบท่านที่ร่างกายไม่สบาย เจ็บไข้ได้ป่วย พระองค์เคยตรัสสอนว่า ให้ทำในใจ ตั้งใจไว้ว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย”  การตั้งใจอย่างนี้ เรียกว่า มีสติ ทำให้จิตใจไม่ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของความแปรปรวนในทางร่างกายนั้น เมื่อมีสติอยู่ก็รักษาใจไว้ได้
การรักษาใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ กายเป็นหน้าที่ของแพทย์ แพทย์ก็รักษาไป เราก็ปล่อยให้แพทย์ทำหน้าที่รักษากาย แต่ใจนั้น เป็นของเราเอง เราจะต้องรักษาใจของตนเองเพราะฉะนั้น ก็แบ่งหน้าที่กัน ตอนนี้ ก็เท่ากับปลงใจบอกว่า “เอาละ ร่างกายของเรามันป่วยไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของหมอ เป็นเรื่องของ นายแพทย์ นายแพทย์รักษาไป เราได้แต่ร่วมมือ ไม่ต้องเร่าร้อนกังวล เราจะรักษาแต่ใจของเราไว้”
รักษาใจไว้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างที่พระองค์ตรัสไว้ ซึ่งได้ยกมาอ้างเมื่อกี้ ให้ตั้งใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย” ถ้ายึดไว้อย่างนี้ สติอยู่ ก็ทำให้จิตใจนั้นไม่พลอยหงุดหงิด ไม่พลอยออดแอด ไม่พลอยแปรปรวนไปตามอาการทางร่างกาย จริงอยู่ ก็เป็นธรรมดาที่ว่า ทุกขเวทนา ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ่อนแรงอ่อนกำลังของร่างกายนั้นย่อมมีผลต่อจิตใจ แต่ถ้ารักษาจิตใจไว้ดีแล้ว ความเจ็บปวดนั้นก็มีแต่น้อย พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้เสมอว่า ให้รักษาใจของตนเอง
การที่จะรักษาใจนั้น รักษาด้วยอะไร ก็รักษาด้วยสติ คือมีสติกำหนด อย่างน้อยดังที่กล่าวมาว่า ถ้ามีสติเอาใจยึดไว้กับคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ถึงกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย เพียง
แค่นี้ก็ทำให้ใจหยุดยั้ง มีหลักมีที่ยึด แล้วจิตใจก็สบายขึ้น อาจจะนำมาเป็นคำภาวนาก็ได้ คือภาวนาไว้ในใจตลอดเวลา บอกว่า กายป่วย ใจไม่ป่วย ถึงกายจะป่วย แต่ใจไม่ป่วย ทำนองนี้ ภาวนายึดไว้ บอกตัวเองอยู่เสมอ ใจก็จะไม่เลื่อนลอยเคว้งคว้างไป
การรักษาใจด้วยสตินั้น ก็คือว่า เอาจิตของเราไปผูกมัดไว้กับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดีงาม ที่ไม่มีการปรุงแต่ง จิตของเรานี้ชอบปรุงแต่ง เมื่อร่างกายไม่สบาย จิตใจก็ปรุงแต่งไปตามความไม่สบายนั้น ทำให้มีความไม่สบายมากขึ้น หรือว่าจิตใจไปห่วงกังวลภายนอก ห่วงกังวลเรื่องทางด้านครอบครัว ห่วงลูกหลาน ห่วงกังวลเรื่องข้าวของทรัพย์สินอะไรต่างๆ ที่ท่านเรียกว่าเป็นของนอกกาย ไม่ใช่ตัวของเรา
โดยเฉพาะลูกหลานนั้นก็มีหลักมีฐานของตนเอง ก็อยู่สบายกันแล้ว ตอนนี้ลูกหลานเหล่านั้น มีหน้าที่ที่จะมาเอาใจใส่ดูแลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ใช่หน้าที่ของผู้เจ็บป่วยที่จะไปห่วงกังวลต่อผู้ที่ยังมีร่างกายแข็งแรงดี ท่านเหล่านั้นสามารถรับผิดชอบตนเอง หรือช่วยเหลือกันเองได้ดีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเป็นห่วงเป็นกังวล
ตัวเองก็ไม่ต้องเป็นห่วงเช่นเดียวกัน เพราะถ้ารักษาใจไว้ได้อย่างเดียวแล้ว ก็เป็นการรักษาแก่นของชีวิตไว้ได้ เพราะว่าชีวิตของเรานั้นก็เป็นดังที่ได้กล่าวว่า มีกายกับใจสองอย่าง โบราณกล่าวไว้ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว กายนั้นรับใช้ใจ ใจเป็นแกนของชีวิต ถ้ารักษา ใจไว้ได้แล้ว ก็นับว่าเป็นการรักษาส่วนประเสริฐของชีวิตไว้ได้
เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็รักษาแต่ใจของตนเองอย่างเดียว ถ้ารักษาใจได้แล้วก็ชื่อว่ารักษาแกนของชีวิตไว้ได้ และดังที่กล่าวมาในตอนนี้ ก็ต้องปลงใจได้ว่ากายนั้นเป็นเรื่องของแพทย์ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปกังวลเรื่องกาย มาพิจารณาแต่รักษาจิตไว้
วิธีรักษาจิตนั้น ก็รักษาด้วยสติดังกล่าวมา  ท่านเปรียบว่า สตินั้นเป็นเหมือนเชือก จะรักษาจิตไว้ให้อยู่กับที่ได้ ก็เอาเชือกนั้น ผูกใจไว้ ใจนั้นมันดิ้นรนชอบปรุงแต่ง คิดวุ่นวายฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ต่างๆ เหมือนกับลิง ลิงที่อยู่ไม่สุข กระโดดไปตามกิ่งไม้จากต้นไม้นี้ ไปต้นไม้โน้นเรื่อยไป พระพุทธเจ้าก็เลยสอนว่า ให้จับลิงคือจิตนี้ เอาเชือกผูกไว้กับหลัก
หลักคืออะไร หลักก็คือสิ่งที่ดีงาม ที่ไม่มีการปรุงแต่ง หรือถ้าปรุงแต่ง ก็ให้เป็นการปรุงแต่งแต่ในทางที่ดี เช่น เรื่องหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องบุญกุศล เป็นต้น เมื่อใจไปผูกไว้กับสิ่งนั้นแล้ว
จิตก็อยู่กับที่ก็ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เลื่อนลอย ไม่สับสนวุ่นวาย ถ้าจิตไม่ปรุงแต่ง เหลวไหลแล้ว ก็จะหมดปัญหาไป
วิธีการรักษาใจที่จะไม่ให้ปรุงแต่ง ก็คือ อยู่กับอารมณ์ที่ดีงาม อยู่กับสิ่งที่ใจยึดถือ อย่างที่อาตมาได้กล่าวมา แม้แต่เอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยมาภาวนาว่า ถึงกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยไปด้วย หรือจะภาวนาสั้นๆ บอกว่า เจ็บไข้แต่กาย แต่ใจไม่เจ็บไข้ด้วย ป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วย ภาวนาแค่นี้ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีการปรุงแต่ง
เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง จิตก็ไม่ติดขัด ไม่ถูกบีบคั้น จิตไม่ถูก บีบคั้น ก็ไม่มีความทุกข์ จะมีความปลอดโปร่งผ่องใส ไม่ถูกครอบงำด้วยทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
นอกจากผูกจิตไว้กับสิ่งที่ดีงาม หรือคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่กล่าวมาแล้ว ก็คือการที่ว่าให้จิตนั้นไม่มีกังวลกับสิ่งต่างๆ ไม่ปล่อยใจให้ล่องลอยไปกับความคิดนึกทั้งหลาย หรือความห่วงกังวลภายนอก รักษาใจให้อยู่ภายใน ถ้าไม่รักษาใจไว้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือคำภาวนาอย่างที่ว่าเมื่อกี้ ก็อาจจะเอาคำภาวนาอื่นๆ มาว่า เช่น เอาคำว่า พุทโธ มา
คำว่า “พุทโธ” นี้ เป็นคำดีงาม เป็นพระนามหรือชื่อของพระพุทธเจ้า เมื่อเอามาเป็นอารมณ์ สำหรับให้จิตใจยึดเหนี่ยวแล้วจิตใจก็จะได้ไม่ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไป แล้วจิตใจนี้ก็จะเป็นจิตใจที่ดีงาม ผ่องใส เพราะว่าพระนามของพระพุทธเจ้านั้น เป็นพระนามของผู้บริสุทธิ์ เป็นพระนามที่แสดงถึงปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความตื่น และความเบิกบาน
คำว่า “พุทโธ” นั้น แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน พระพุทธเจ้านั้นทรงรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย รู้สังขาร รู้โลกและชีวิตนี้ตามความเป็นจริง มีปัญญาที่จะแก้ทุกข์ให้กับคนทั้งหลาย เมื่อรู้แล้วพระองค์ก็ตื่น ตื่นจากความหลับไหลต่างๆ ไม่มีความลุ่มหลงมัวเมายึดติดในสิ่งทั้งหลาย เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วไม่มีความลุ่มหลงมัวเมา ก็มีแต่ความเบิกบาน เมื่อเบิกบานก็มีความสุข จิตใจปลอดโปร่งในความสุข จึงเป็นแบบอย่างให้แก่เราทั้งหลายว่า เราทั้งหลายจะต้องมีความรู้เข้าใจสังขารตามความเป็นจริง จะต้องมีความตื่น ไม่หลงใหลในสิ่งต่างๆ ไม่ยึดติด ถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แล้วก็มีความเบิกบานใจ ปลอดโปร่งใจ เอาอันนี้ไว้เป็นคติเตือนใจ แล้วต่อจากนั้นก็ภาวนาคำว่า พุทโธ ว่า พุท แล้วก็ว่า โธ
ถ้ากำหนดลมหายใจได้ ก็สามารถที่จะว่ากำกับลงไปกับลมหายใจ เวลาหายใจเข้าก็ว่า พุท เวลาหายใจออกก็ว่า โธ หรือไม่กำกับอยู่กับลมหายใจก็ว่าไปเรื่อยๆ นึกในใจว่า พุท-โธ เป็นจังหวะๆ ไป
เมื่อจิตผูกรวมอยู่ในคำว่า พุทโธ ก็ไม่ฟุ้งซ่าน และไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง จิตก็อยู่เป็นหลัก เมื่อจิตอยู่เป็นหลัก มีความสงบมั่นคงแน่วแน่ ก็ไม่เป็นจิตที่เศร้าหมอง แต่จะมีความ เบิกบาน จะมีความผ่องใส ก็มีความสุข แล้วอย่างนี้ก็จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามหลักที่ว่า จิตใจไม่ป่วย นี้ก็เป็นวิธีการต่างๆ ในการที่จะรักษาจิตใจ 
อาตมากล่าวไว้นี้ก็เป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ในการที่จะรักษาจิต ด้วยสติ โดยเอาสติเป็นเชือกผูกจิตไว้กับอารมณ์ เช่น คำว่าพุทโธเป็นต้น จิตใจจะได้มีหลัก ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย มีความสงบเบิกบานผ่องใส ดังที่กล่าวมา
อาตมาขอส่งเสริมกำลังใจ ให้โยมมีจิตใจที่สงบ มีจิตใจที่ แน่วแน่ผูกรวมอยู่กับคำว่า ถึงกายจะป่วย แต่ใจไม่ป่วย หรือผูกพันกำหนดแน่วแน่อยู่กับคำภาวนาว่า พุทโธ แล้วก็ให้มีจิตใจ เบิกบานผ่องใสอยู่ตลอดเวลา วันนี้อาตมาก็เอาใจช่วย ขอให้โยมมีความเบิกบานผ่องใส ตลอดกาล ทุกเวลา เทอญฯ




หนังสือสมุนไพร เพื่อสุขภาพ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ แก่ผู้อ่าน ได้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
พร้อมทั้งเป็น หนังสือธรรมะ หนังสือสวดมนต์ พิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน หรือเพื่อแจกในงานต่างๆ
ราคาย่อมเยาว์


สนใจสั่งพิมพ์ ติดต่อได้ที่ www.kapooktham.com โทร.092-746-1604

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา (บาลีวิสาขปูชาอังกฤษVesak) เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศและวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]
วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่าประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนาการเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

สวดมนต์ให้เงินงอก

สวดมนต์ให้เงินงอก


          มีสติแล้วสตางค์มา ถ้าคนไหนไม่มีสติสตางค์หนี สตางค์หนีหมดแน่นอนนะ วิระทะโย วิระโคนายัง โยมสวดคาถาให้เงินมาแล้ว สวดแล้วเงินมาไหม ถ้าฝรั่งถาม อย่าไปตอบว่าสวดแล้วเงินมานะ สวดไปทำไมโยม เดี๋ยวไปสวดเงินไม่มา ด่าเราแหลก สวดแล้วจิตงอก พอจิตงอกแล้วเงินมันก็งอก ถ้าหากว่าสวดแล้วจิตมันหดเงินมันก็หดด้วย ไม่ใช่สวดแล้วได้เงินเลย โยมพอจิตมันงอกนะ จิตก็แตกสาขาเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของจิต แล้วเงินก็มา ถ้ายิ่งสวดไปจิตหดนะ จิตยิ่งหดเงินหดด้วย ข้าวในหม้อก็หดด้วย หดหมด เพราะฉะนั้นตอบได้เลยว่า วิระทะโย วิระโคนายัง สวดให้จิตขึ้น พอจิตสบายอุดมการณ์เกิดขึ้นมีสติครบ รับรองนึกเงินได้เงิน นึกทองทองไหลมา
           โยมจำไว้สวดไว้จิตงอก ถ้าจิตของท่านทั้งหลายงอกทุกคนนะ รับรองสำเร็จตามเป้าหมายและจุดประสงค์ทุกประการ ถ้าจิตหดแล้วนะ หม้อแบตเตอรี่หมดไฟ รถทำอย่างไรถึงจะไปได้ คุณโยม ไม่เอาใจใส่แบตเตอรี่ กำลังใจตกมากนะ หม้อแบตเตอรี่นี่ในเใื่อเราไม่ใช้มัน ไม่สตาร์ทมันก็หมดไฟไปนะ ต่อไปอะไรเสียแผ่นผ้าเสีย ในเมื่อแผ่นผ้าเสีย แล้วต่อไปทำอย่างไร ต้องโยนหม้อแบตเตอรี่ทิ้ง ซื้อใหม่ เสียเงิน นี่กำลังใจตกนะ ถ้าเพิ่มพลังจิตโดยใช้สติทุกประการเท่านั้นเป็นการเพียงพอ เพิ่มสติเพิ่มกระแสไฟทั้งชาร์จทั้งสตาร์ท


จากหนังสือแก่แท้แห่งการสวดมนต์
โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

สั่งพิมพ์หนังสือธรรมะ หนังสือสวดมนต์ แจกเป็นธรรมทานในงานทำบุญ
บริการส่งทั่วประเทศ...กระปุกธรรม ดอทคอม
สนใจสอบถามได้ที่ โทร.092-746-1604
www.kapooktham.com
E-mail : kapooktham@gmail.com
Line ID : kapooktham

เจ้ากรรมนายเวร

เจ้ากรรมนายเวร


เจ้ากรรมนายเวรของเราเกิดจากการกระทำกรรมที่ไม่ดี

       (อกุศล) ของเรา ที่ทำกับคู่กรณีของเรามีด้วยกัน ๒ ทาง คือ การกระทำกรรมทางกายและทางวาจา ไม่ว่าการกระทำกรรมหรือการประกอบกรรมของเรานั้นจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นการเบียดเบียนคนอื่นๆ สัตว์อื่นๆ ให้เดือดร้อนทุกข์ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจก็ตาม นั่นแหละ ผลกรรมไม่ดี กรรมชั่ว อกุศลกรรมและเจ้ากรรมนายเวรได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว จะต้องผลัดกันให้ผลต่อกันและกันข้ามภพข้ามชาติ ต่อไปไม่มีวันจบสิ้น ถ้าหากไม่มีการอโหสิกรรมต่อกัน เจ้ากรรมนายเวรจะส่งผลให้เราเจ็บป่วย ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงขั้น เสียชีวิตเลยทีเดียว จะหนักหรือเบาก็อยู่ที่แรงอาฆาต แรงพยาบาท ขนาดของว่าสัตว์ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ ตัวใหญ่จะมีแรงอาฆาตมาก ก็จะเจ็บป่วยเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก อยู่อย่างทรมาน สุดท้ายก็ต้องเสียชีวิตไป สัตว์เล็กก็จะเบาลง เช่น มด ยุง แมลง แมลงสาบฯลฯ....แต่สะสมกันมากๆ เข้าก็กลายเป็นกรรมหนักได้เช่นกัน 
ข้อพึงระวัง กรรมและเจ้ากรรมนายเวรของเราก็คือ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ คู่สามีภรรยา ลูก หลาน ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตเพราะอยู่ใกล้ตัวของเรามากที่สุด ปู่ย่า ตายาย พ่อ แม่ คู่สามีภรรยา ลูก หลาน ในอดีตก็เป็นเจ้ากรรมนายเวร ของเราในปัจจุบัน ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ คู่สามีภรรยา ลูก หลาน ในปัจจุบันก็จะเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราในอนาคต ฉะนั้นควรจะมีและทำอะไรที่ดีๆ ที่มีความสุขความสบายต่อกัน เพื่อผลกรรมในอนาคตจะได้มีผลดีตามมาด้วย โดยเฉพาะคู่สามี ภรรยากัน คุณคือเจ้ากรรมนายเวรเป็นอันดับที่ ๑ ซึ่งกันและกัน ไปตลอดไม่ว่าจะเป็นภพชาติไหนต่อไปในอนาคต...

หนังสือสวดมนต์, หนังสือธรรมะ, หนังสือกฎแห่งกรรม
เพื่อคุณแจกเป็นธรรมทาน 

สั่งง่าย ได้เร็ว ราคาเป็นกันเอง ส่งถึงที่ ทั่วไทย

พิมพ์แจกงานศพ เพิ่มประวัติ เพิ่มรูปภาพ ออกแบบฟรี สั่งปกเปล่า พิมพ์รายชื่อ กระดาษเพิ่ม กระดาษแทรก
สนใจสอบถามได้ที่ โทร.092-746-1604
www.kapooktham.comE-mail : kapooktham@gmail.comLine ID : kapooktham


ทานที่ถวายหนังสือธรรมะ‬

ทานที่ถวายหนังสือธรรมะ‬


��‪#‎ทานที่ถวายหนังสือธรรมะ‬ หรือพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ๙ มงคล ดังต่อไปนี้



��
1. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการรักษาพระพุทธศาสนาให้มีความยั่งยืน วัฒนาสถาพร
��2. ได้ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญทานบารมีที่ยอดเยี่ยมคือ ธรรมทานบารมี
��3. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
��4. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)
��5. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
��6. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสันติภาพ และสันติสุขแก่ชาวโลก
��7. ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม
��8. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งเสริมในการเลือกสรรสิ่งที่ดีให้แก้ผู้รับ (เป็นผู้ให้ที่ดี)
��9. ได้ชื่อว่าเป็นผู้แสดงออกถึงนํ้าใจอันดีงามของกัลยาณมิตร (มิตรที่ดี)
ท่านที่ได้บำเพ็ญธรรมทานบารมีดังกล่าวมาแล้ว ย่อมประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า และเป็นผู้ปราศจากทุกข์ โศก โรคภัย ทั้งปวง

สั่งพิมพ์หนังสือธรรมะ หนังสือสวดมนต์ แจกเป็นธรรมทานในงานทำบุญบริการส่งทั่วประเทศ...กระปุกธรรม ดอทคอม"

สั่งง่าย ได้เร็ว ราคาเป็นกันเอง ส่งทั่วไทย




สนใจสอบถามได้ที่ โทร.092-746-1604
www.kapooktham.com
E-mail : kapooktham@gmail.com
Line ID : kapooktham